ทำความรู้จักศูนย์กายภาพบำบัด คลินิกกายภาพบำบัด

3223
เทคนิคกายภาพบำบัด

มาทำความรู้จักกับศูนย์กายภาพบำบัด คลินิกกายภาพบำบัด

ศูนย์กายภาพบำบัด  คลินิกกายภาพบำบัด  เป็นสถานพยาบาลที่ให้การดูแลรักษา บรรเทาอาการเจ็บปวด และฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกายเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้กลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ โดยศูนย์หรือคลินิกจะมีทีมแพทย์และทีมนักกายภาพบำบัด ที่มีความเชี่ยวชาญให้การรักษาฟื้นฟูสภาพร่างกาย พร้อมด้วยเครื่องมือบำบัดรักษาที่ได้มาตรฐาน ปลอดภัยและเพียงพอต่อการให้บริการ ซึ่งการรักษาผู้ป่วยทางกายภาพบำบัดจะครอบคลุมถึงการดูแลรักษาผู้ป่วยในด้านการส่งเสริม การป้องกัน การรักษา และการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ เพื่อให้ผู้รับการรักษากลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติและมีความสุข

การรักษาโดยคลินิกกายภาพบำบัด

ศูนย์กายภาพบำบัด คลินิกกายภาพบำบัด ให้การรักษาโดยวิธีการทางกายภาพบำบัดต่างๆ เช่น

  • รักษาโดยคลื่นไฟฟ้าความร้อน (diathermy)
  • รักษาโดยคลื่นเหนือเสียง (Ultrasound)
  • การดึง (Traction)
  • การประคบความร้อน (Hot pack)
  • การดัดและดึง (Joint mobilization)
  • การนวด (Massage)
  • การกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า (Electrical Stimulation)
  • การออกกำลังเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว (ROM exercise)
  • การออกกำลังเพิ่มความแข็งแรง (Strengthening exercise)
  • การออกกำลังกายแบบทำให้ (Passive exercise)
  • การฝึกเดิน (Gait training)
  • การฝึกกิจวัตรประจำวัน (ADL training)

การทำกายภาพบำบัด  (Physical Therapy)

กายภาพบำบัด คือ การกระทำเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยเพื่อบำบัด ป้องกัน แก้ไขและฟื้นฟูการเสื่อมสมรรถภาพหรือความพิการของร่างกายหรือจิตใจ โดยใช้วิธีตามหลักวิทยาศาสตร์ และเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางกายภาพบำบัด ได้แก่ การดัด การดึง การประคบ การนวด การบริหารร่างกายของผู้ป่วย การใช้เครื่องไฟฟ้า ความร้อน ความเย็นในการรักษาซึ่งจำเป็นต้องได้รับการกระทำด้วยวิธีการต่างๆ ตามข้างต้นตามหลักวิทยาศาสตร์ หรือการกระทำอื่นที่มีการประกาศเป็นวิธีการทางกายภาพบำบัด หรือการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ตามหลักวิทยาศาสตร์ที่มีการประกาศเป็นเครื่องมือกายภาพบำบัดโดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ได้รับการรักษามีสุขภาพและมีความสามารถในการทำงานของร่างกายอย่างเต็มที่

กายภาพบำบัด จะกระทำโดยนักกายกายภาพบำบัด (PT) หรือผู้ช่วยนักกายภาพบำบัด (Physical Therapy Assistant) ภายใต้การดูแลและแนวทางของนักกายภาพบำบัด  นอกจากนี้ในการรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดได้มีการใช้การรักษาทางกายภาพบำบัดโดยผู้ประกอบวิชาชีพสุขภาพอื่นๆ เช่น ไคโรแพรคเตอร์ แพทย์ทางด้านการจัดกระดูก โปรแกรมการรักษาทางกายภาพบำบัด ยังเกี่ยวข้องกับผู้ให้บริการสาธารณสุขอื่นๆด้วย  โดย นักกายภาพบำบัด จะใช้ประวัติทางการรักษาและข้อมูลจากการตรวจร่างกายเพื่อประกอบการให้การบำบัด ในบางกรณีนักกายภาพบำบัดบางคนที่มีทักษะสูง อาจใช้ผลจากห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และการศึกษาภาพถ่ายทางรังสี ประกอบการบำบัดรักษาด้วย เป็นต้น

ประเภทของการทำกายภาพบำบัด

ประกอบด้วย การทำหัตถการ การรักษาด้วยเครื่องมือทางกายภาพ บำบัด การรักษาด้วยการออกกำลังกายซึ่งเป็นการรักษาฟื้นฟู ป้องกัน และส่งเสริมสมรรถภาพร่างกาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนา เพิ่มประสิทธิภาพ ความยืดหยุ่น และความแข็งแรงของร่างกาย

นักกายภาพบำบัด สามารถปฏิบัติงานในหลายรูปแบบ เช่น แผนกผู้ป่วยนอก  แผนกผู้ป่วยใน เวชกรรมฟื้นฟู ผู้ป่วยที่ทำการฟื้นฟูอยู่บ้าน ศูนย์กายภาพบำบัด คลินิกกายภาพบำบัด หน่วยงานการศึกษาหรือศูนย์วิจัย สำนักงาน โรงเรียน สถานพักฟื้น โรงงานอุตสาหกรรม ศูนย์ฟิตเนส และสถานการฝึกสอนนักกีฬา

สามารถแบ่งงานกายภาพบำบัด ออกเป็นกลุ่มงานได้ดังนี้

  1. กายภาพบำบัดด้านระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
    • เช่น ผู้ป่วยที่มีการปวดที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ, การออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสมหรือการบาดเจ็บจากการทำงาน เป็นต้น นักกายภาพบำบัดระบบกล้ามเนื้อกระดูก หรือนักกายภาพบำบัดออโธปิดิกส์ จะทำการวินิจฉัย จัดการรักษาภาวะที่เกิดความผิดปรกติ หรือบาดเจ็บในส่วนของระบบกล้ามเนื้อกระดูก รวมไปถึงการฟื้นฟูในผู้ป่วย ภายหลังการทำศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์
  2. กายภาพบำบัดด้านระบบประสาท
    • ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีปัญหาในการเคลื่อนไหวซึ่งมีสาเหตุจากความผิดปกติของระบบประสาท  เช่น  ผู้ป่วยอัมพาต ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น  นักกายภาพบำบัดทางด้านระบบประสาท จะดูแลเฉพาะเจาะจงลงไปในผู้ป่วยแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นผู้ที่มีภาวะโรค หรือ ความผิดปรกติทางระบบประสาท ทั้งหมดนี้รวมถึง โรคอัลไซเมอร์ โรคที่สมองได้รับการกระทบกระเทือน โรคสมองพิการแต่กำเนิด
  3. กายภาพบำบัดด้านระบบทรวงอกหลอดเลือดและหัวใจ (ปอดและหัวใจ)
    • ผู้ป่วยที่มีปัญหาในการหายใจหรือการทำงานของหัวใจ เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจ รวมถึงผู้ป่วยทั้งก่อนและหลังผ่าตัด เป็นต้น  นักกายภาพบำบัดในระบบหลอดเลือดหัวใจและปอด จะรักษาผู้ป่วยทั้งหลาย ที่มีความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด หรือ ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจและปอด เป้าหมายหลัก และการทำหัตถการต่อผู้ป่วย
  4. กายภาพบำบัดด้านกีฬา 
    • เช่น การดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพนักกีฬาทั้งก่อนและหลังการแข่งขันการกีฬา โดยดูแลและให้ความพร้อมแก่นักกีฬา ท้งช่วงก่อนแข่งขัน ขณะแข่งขัน และหลังการแข่งขันเพื่อให้ร่างกายสมบูรณ์พร้อมแข่งขัน และรักษาอาการบาดเจ็บของนักกีฬา
  5. กายภาพบำบัดผู้ป่วยเด็ก (Pediatric)
    • ช่วยการตรวจหาปัญหาสุขภาพตั้งแต่แรกเริ่ม และการรักษาความผิดปกติในประชากรเด็ก นักกายภาพบำบัดเด็ก จะมีความชำนาญเป็นพิเศษในการวินิจฉัย ให้การรักษาและการจัดการในเด็กทารก เด็กและวัยรุ่น เกี่ยวกับภาวะที่ผิดปกติตั้งแต่กำเนิดทั้งหลาย การพัฒนาการ ระบบกล้ามเนื้อประสาท ระบบกระดูก และภาวะโรคหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายหลังจากการคลอดแล้ว
  6. กายภาพบำบัดในผู้สูงอายุ
    • เป็นการรักษากายภาพบำบัดที่เน้นไปยังผู้สูงอายุ ซึ่งมีหลากหลายลักษณะอาการที่เกิดเมื่อคนก้าวเข้าสู่วัยชรา ตัวอย่างเช่น โรคข้ออักเสบ ภาวะกระดูกบาง มะเร็ง โรคอัลไซเมอร์ การเปลี่ยนข้อสะโพก และข้อต่ออื่นๆ ภาวะการสูญเสียการทรงตัว การกลั้นปัสสาวะ อุจจาระไม่อยู่ เป็นต้น
  7. งานกายภาพบำบัดด้านอื่นๆ
    • การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน สูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา การดูแลและรักษาในหญิงตั้งครรภ์ โดยเตรียมความพร้อมตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ตั้งครรภ์และหลังคลอด   การดูแลรักษาทางด้านดวงตา

ข้อมูลประกอบอ้างอิง : https://th.wikipedia.org/wiki/กายภาพบำบัด

บุคลากรที่ทำกายภาพบำบัด

จากข้อมูลของสภากายภาพบำบัด พบว่ามีนักกายภาพบำบัดที่ขึ้นทะเบียนประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัดประมาณ 8,000 คน แต่มีนักกายภาพบำบัดที่ประมาณการว่ายังคงปฏิบัติงานบริการในระบบสุขภาพทั้งภาครัฐและเอกชนเพียง 5,000 คน ซึ่งกระจายอยู่ในหน่วยงานต่างๆ ทั้งในภาคการศึกษา และการบริการสุขภาพ

นอกจากนั้นในระดับปฐมภูมิ พบว่า โรงพยาบาลชุมชนที่มีนักกายภาพบำบัดปฏิบัติงานอยู่มีเพียงประมาณ 300 แห่ง จากจำนวนโรงพยาบาลชุมชนทั้งประเทศจำนวน 735 แห่ง โดยแต่ละแห่งที่มีนักกายภาพบำบัด มีจำนวนนักกายภาพบำบัดโดยเฉลี่ยเพียง 1.5 คน (ข้อมูลจาก สปสช.) ซึ่งไม่เพียงพอต่อลักษณะงานของนักกายภาพบำบัดชุมชนที่ต้องให้บริการกายภาพบำบัดในเชิงรุกในการเยี่ยมผู้ป่วยและผู้พิการตามบ้าน ประกอบกับการให้บริการผู้ป่วยในโรงพยาบาลจำเป็นต้องมีนักกายภาพบำบัดอย่างน้อย 2-4 คนต่อโรงพยาบาลชุมชนแต่ละแห่ง ขึ้นอยู่กับจำนวนประชากรในความรับผิดชอบของแต่ละโรงพยาบาล

อ้างอิง :   http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1428305784

นักกายภาพบำบัด

นักกายภาพบำบัด มีหน้าที่บำบัดรักษาผู้อื่นตามคำสั่งแพทย์โดยการใช้เครื่องมือทางฟิสิกส์ การบริหารร่างกายเฉพาะท่า เช่นการดึง การนวด และเทคนิคอื่นๆ ทางกายภาพบำบัดผู้ป่วยทาง ออร์โธปิดิคส์ คือ ผู้ป่วยทางระบบกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อต่อซึ่งอาจเกิดจากโรคบางชนิดหรืออุบัติเหตุ มุ่งเน้นให้การช่วยเหลือผู้ป่วยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันความพิการ บำบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพในผู้ที่มีความเสื่อมสมรรถภาพ หรือความพิการทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม พัฒนาการการรับรู้ และความรู้ความเข้าใจด้วยวิธีการทางกิจกรรมบำบัด

นักกายภาพบำบัด จะรักษาอาการผิดปกติของร่างกาย เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด อัมพาต โรคหัวใจ หรือโรคประสาทด้วยวิธีกายภาพบำบัด หรือวิธีอื่นๆ ที่มิใช่การรักษาด้วยยา และโดยปกติเป็นการปฏิบัติงานตามคำสั่งของแพทย์ ชี้แจงผู้ป่วยให้ออกกำลังกาย เพื่อรักษาโรคกล้ามเนื้อไม่ปกติ และหย่อนประสิทธิภาพใช้มือนวดตามร่างกายของผู้ป่วยให้การรักษาด้วยการฉายแสงอาทิตย์เทียม แสงอัลตราไวโอเลต หรืออินฟราเรดและมุ่งเน้นช่วยตรวจสอบค้นหาข้อบกพร่องให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้โดยอิสระ และจะต้องให้การช่วยเหลือด้านพัฒนาการร่างกาย ด้านจิตเวช

หน้าที่ของนักกายภาพบำบัดโดยทั่วไป

1) ปฏิบัติการด้านกายภาพบำบัดตามมาตรฐานวิชาชีพในการให้บริการทางกายภาพบำบัดแก่ผู้รับบริการ เพื่อให้ได้รับการบริการที่ถูกต้องเหมาะสม

2) คัดกรอง ตรวจประเมินทางกายภาพบำบัดวิเคราะห์ปัญหา วินิจฉัยปัญหา ภาวะเสี่ยง เพื่อให้การบริการทางกายภาพบำบัดได้อย่างถูกต้องเหมาะสมทันสถานการณ์และทันเวลา

3) ส่งเสริม ป้องกัน ดูแล รักษา ฟื้นฟูสุขภาพประชาชน หรือการบริการอื่นๆ ทางด้าน กายภาพบำบัดเพื่อให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น

4) บันทึก รวบรวม ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นทางกายภาพบำบัดเพื่อพัฒนาการบริการ ผู้ป่วยให้มีคุณภาพ

ตัวอย่างขอบเขตความรับผิดชอบของนักกายภาพบำบัด มีดังนี้

1) ดัดแปลงสภาพบ้าน และขจัดสิ่งกีดขวางทางสถาปัตยกรรม

2) ดัดแปลงอุปกรณ์ช่วย อุปกรณ์เสริม และเทียมให้เหมาะสมกับสภาพของผู้ป่วย รวมทั้งฝึกหัดการใช้และการดูแลรักษา

3) ให้การรักษาพิเศษ เพื่อเพิ่มพูนความสามารถทางกาย ได้แก่ เพิ่มกำลังกล้ามเนื้อเพิ่มความ ทนทานในงานสหสัมพันธ์ ในการทำงาน เป็นต้น

4) สอน และฝึกหัดกิจวัตรประจำวัน เช่น การเคลื่อนย้ายตัว สุขอนามัยส่วนบุคคล การรับประทานอาหาร เป็นต้น

5) ช่วยกระตุ้น ฟื้นฟู และส่งเสริมความสามารถในผู้ที่มีปัญหาด้านการรับรู้ และการเรียนรู้

6) ช่วยตรวจสอบค้นหาข้อบกพร่อง รวมทั้งให้การบำบัดรักษาในเด็กที่มีปัญหาด้านพัฒนาการ

7) ให้การรักษาพิเศษแก่ผู้ที่มีปัญหาด้านจิตใจ สังคม อารมณ์ และพฤติกรรม เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยในการวินิจฉัยโรค ช่วยลด หรือขจัดแรงขับทางอารมณ์ แก้ไข และปรับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีจัดการกับความเครียดหรือความวิตกกังวล

8) ประเมินสมรรถภาพทางร่างกาย และจิตใจ การปรับตัวให้เข้ากับสังคม ความสนใจงานนิสัยในการทำงาน รวมทั้งปรับปรุงทักษะ และศักยภาพในการประกอบอาชีพ

9) แนะนำโครงการการใช้ชีวิต และการปรับตัวภายหลังการเกษียณให้ผู้สูงอายุ และผู้มีปัญหาทางร่างกายหรือพิการ

สถานที่ทำกายภาพบำบัด

ผู้ป่วยหรือที่มีปัญหาทางด้านสภาพร่างกายและต้องการทำกายภาพบำบัดสามารถพิจารณาเลือกทำการรักษาได้ตามสถานที่หรือตามความสะดวก ดังนี้

1. ทำกายภาพบำบัดที่ศูนย์กายภาพบำบัด คลินิกกายภาพบำบัด

ศูนย์กายภาพบำบัด คลินิกกายภาพบำบัด ให้คำปรึกษา ให้บริการทางกายภาพบำบัดเพื่อรักษาและฟื้นฟูอาการของผู้ป่วยหรือผู้พิการให้กลับสู่ภาวะปกติหรือใกล้เคียงภาวะปกติให้มากที่สุด ตามศักยภาพของแต่ละบุคคล โดยเป็นการฝึกเพื่อให้มีกำลังกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น ป้องกันการเกิดข้อยึดติด แก้ไขความผิดปกติที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เป็นต้น โดยมุ่งเน้นให้ผู้ป่วย ผู้พิการ ผู้ดูแลและญาติเข้าใจถึงภาวะการดำเนินโรค วิธีการดูแลและการฝึกอย่างถูกวิธี ตลอดจนสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นปกติที่สุด

2. ทำกายภาพบำบัดที่บ้าน 

ผู้ป่วยหรือผู้ที่ต้องถูกดูแลรักษากายภาพบำบัดที่บ้านจะมีนักกายภาพบำบัดเข้าไปช่วยให้คำปรึกษา แนะนำ และการรักษาทางกายภาพบำบัดด้วยความรู้อย่างมีมาตรฐาน  การทำกายภาพบำบัดที่บ้านนั้น นักกายภาพบำบัด  จะช่วยดูแลในด้านอื่นๆ ให้กับผู้ป่วยด้วย  เช่น การจัดสถานที่ให้เอื้อต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย, สุขอนามัยพื้นฐานที่บ้าน, การจัดโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อการรักษาเฉพาะโรคของผู้ป่วย เป็นต้น รวมไปถึงข้อควรระวังต่างๆ อันเนื่องจากโรค หรือภาวะขาดความสามารถทางกายต่างๆ ของผู้ป่วยที่จำเป็นต้องสอนทั้งผู้ป่วยและญาติให้เข้าใจได้อย่างถูกต้อง

เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อกายภาพบำบัด

ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลรักษากายภาพบำบัดที่บ้านหากมีความสนใจหรือต้องการหาเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อกายภาพบำบัดที่บ้าน มีคำแนะนำการเลือกซื้อเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อกายภาพบำบัด ดังนี้

  1. ควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ หรือแพทย์เป็นผู้สั่งใช้ เนื่องจากเครื่องใช้หรือ ผลิตภัณฑ์ ที่ใช้เพื่อกายภาพบำบัดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้โดยผู้ประกอบวิชาชีพ ศิลปะหรือ นักกายภาพ บำบัดเป็นส่วนใหญ่
  1. ด้านความปลอดภัยของตัวผลิตภัณฑ์ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ ที่ใช้เพื่อกายภาพบำบัดตามหลักวิชาการ แล้วสามารถสรุปข้อบ่งใช้ได้ ดังนี้  o    ช่วยผ่อนคลาย การเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ o    ช่วยฟื้นตัวกล้ามให้แข็งแรง หากไม่ได้ใช้งานบ่อย ๆ  o    ช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตเฉพาะที่  o    ช่วยให้เกิดการเรียนรู้เพื่อการทำงานของกล้ามเนื้อ  o    ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อหลังการผ่าตัด

ผลิตภัณฑ์มีเลขที่รับแจ้งรายการละเอียด

ผลิตภัณฑ์ต้องมีฉลากภาษาไทย  ได้แก่  1. ชื่อเครื่องมือแพทย์  2.ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต/นำเข้า  3.ปริมาณที่บรรจุ 4.  เลขที่ของอักษรของครั้งที่ผลิตรวมถึง Serial number   5. ประโยชน์ วิธีการใช้ และวิธีการเก็บรักษา  6.คำเตือน และข้อควรระวังในการใช้    7.  อายุการใช้

แนวทางปฏิบัติเพื่อพัฒนาการบริการกายภาพบําบัดให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน

จะเห็นได้ว่ากระบวนการรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดนั้นเป็นการรักษาฟื้นฟูสภาพร่างกายซึ่งจำเป็นต้องใช้บุคคลากรและหน่วยงานที่มีความสามารถเฉพาะ   ซึ่งการทำกายภาพบำบัดจึงมีหน่วยงานกำกับดูแลอยู่หลายหน่วยงาน หนึ่งในนั้นคือ สภากายภาพบำบัด :: Physical Therapy Council   ซึ่งได้ออก ประกาศสภากายภาพบําบัด เรื่อง มาตรฐานบริการกายภาพบําบัด   พ.ศ.  ๒๕๕๓   เพื่อให้หน่วยบริการสุขภาพหรือสถานบริการที่มีการบริการกายภาพบําบัดนําไปใช้ในการกําหนดแนวทางปฏิบัติ   เพื่อพัฒนาการบริการกายภาพบําบัดให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานต่อไป

ซึ่งในที่นี้ขอยกตัวอย่างโดยย่อมา 3 มาตรฐาน คือ

  • มาตรฐาน 5 เครื่องมือทางกายภาพบําบัด อุปกรณ์  และสิ่งอํานวยความสะดวก

มีเครื่องมือและอุปกรณ์ทางกายภาพบําบัด  รวมถึงสิ่งอํานวยความสะดวก  เพื่อให้บริการผู้ป่วย ได้อย่างปลอดภัย  มีคุณภาพและประสิทธิภาพ

  • มาตรฐานที่ 7  การบริการทางกายภาพบําบัด

บริการทางกายภาพบําบัดต้องกระทําภายใต้กฎหมายวิชาชีพ  และขอบเขตมาตรฐานของวิชาชีพ  ซึ่งมีประเด็นสำคัญ คือ การให้บริการทางกายภาพบําบัดโดยใช้กระบวนการทางกายภาพบําบัดครอบคลุม การให้บริการหลักทั้ง  ๔  ด้าน  คือ  การส่งเสริม  ป้องกัน  รักษา  และฟื้นฟูสมรรถภาพ

  • มาตรฐานที่ 8  กระบวนการทางกายภาพบําบัด

มีกระบวนการให้บริการทางกายภาพบําบัด  อย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ   และตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ

แนะนำศูนย์กายภาพบำบัด คลินิกกายภาพบำบัด

เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยหรือผู้สนใจทำกายภาพบำบัด จึงขอแนะนำแนะนำศูนย์กายภาพบำบัด คลินิกกายภาพบำบัดจำนวน 7 แห่ง ที่เป็นหน่วยงานของรัฐที่เปิดให้บริการแก่ผู้ป่วยและบุคคลทั่วไปได้สามารถใช้บริการ   เพื่อเป็นข้อมูลพิจารณาเลือกใช้บริการได้ตามความสะดวก  ได้แก่

  • ศูนย์กายภาพบำบัด (เชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า)

ศูนย์กายภาพบำบัด (เชิงสะพานสมเด็จปิ่นเกล้า) คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล  เลขที่ 198/2 ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700   โทรศัพท์ : 02-433 7098

  • ศูนย์กายภาพบำบัด (ศาลายา)

ศูนย์กายภาพบำบัด (ศาลายา) คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล   เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล นครปฐม 73170 โทรศัพท์: 02-441 5450 ต่อ12

  • ศูนย์กายภาพบำบัดและธาราบำบัด ภาควิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

99 หมู่ 18 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 โทรศัพท์ 02-9869213-9 ต่อ 7274, 7275, 085-348 7110 โทรสาร 02-516 5379

  • ศูนย์บริการเทคนิคการแพทย์คลินิก คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

(คลินิกกายภาพบำบัด : Physical Therapy Clinic) 110 ถนนอินทวโรรส ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200 โทร 053-936027

  • คลีนิคกายภาพบำบัด

หน่วยบริการวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ ชั้น3 คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซอยจุฬาฯ12 ถนนพระราม1 เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทร. 02-218 1100

  • คลินิกกายภาพบำบัด ภาควิชากายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คลินิกกายภาพบำบัดตั้งอยู่ที่ตึกสระน้ำ ตรงข้ามกับตึกใหม่ 8 ชั้น คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นหมายเลขโทรศัพท์ 043-202080  และ 2625

  • คลินิกกายภาพบำบัด ตั้งอยู่บริเวณชั้น 2   (ห้องเบอร์ 6)

ศูนย์บริการสาธารณสุข 7 บุญมี ปุรุราชรังสรรค์   สถานที่ตั้ง 663 ถนนสาธุประดิษฐ์ (55-57) แขวงบางโพงพาง  เขตยานนาวา  กรุงเทพมหานคร 10120 โทรศัพท์ 02-284 2331

Citibank_Citi-Cashback-_ซิตี้แคชแบ็ก-2020.jpg