โรคหมอนรองกระดูกเสื่อม ภาวะเสี่ยงในวัยทำงาน และผู้สูงวัย

636
หมอนรองกระดูกเสื่อม

หมอนรองกระดูกเสื่อม  ภัยใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

อาการหมอนรองกระดูกเสื่อมนี้ไม่ใช่เกิดขึ้นเฉพาะกับผู้สูงวัย หลายคนเข้าใจผิดคิดกันว่า อาการหมอนรองกระดูกเสื่อมเกิดจาก ภาวะกระดูกที่มีความเปราะหรือกระดูกไม่แข็งแรง แท้ที่จริงแล้วสามารถเกิดได้กับหนุ่ม สาววัยทำงานที่ดูยังหนุ่มยังแน่นก็เป็นได้ อาการหมอนรองกระดูกเสื่อมนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ อาทิเช่น จากการที่เราอาจจะนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์เกินไป นั่งผิดท่า นั่งก้มหน้าก้มตากับจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานเกินไป ถ้านับตั้งแต่เริ่มงาน จนเลิกงานอย่างต่ำก็ราวๆ 4-5 ชั่วโมง ยิ่งในปัจจุบันโลกโซเชียลเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมาก คนสมัยนี้ยังจะต้องมานั่งหน้าจอโทรศัพท์มือถือเพื่อเล่นเกม เล่นไลน์ เล่น facebook เข้าสังคมโซเชียลของตน เพื่ออัพเดทข้อมูลข่าวสารต่างๆ การกระทำเช่นนี้เป็นเวลานานต่อเนื่องกัน ก็จะทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดต้นคอ หรือลุกลามไปจนกระทั่งเกิดเป็นอาการหมอนรองกระดูกเสื่อม ก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นผู้ยังไม่ชราภาพก็ควรระวังกับอาการหมอนรองกระดูกเสื่อมนี้ด้วย

อธิบายสาเหตุหมอนรองกระดูกเสื่อมในรูปแบบทางการแพทย์ ได้คือ

ภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อมนั้นเกิดจากน้ำที่หล่อลื่นหมอนรองกระดูกแห้งลง ทำให้เกิดการเสียดสีของกระดูกมากยิ่งขึ้น สูญเสียความยืดหยุ่น จึงทำให้เกิดอาการเจ็บร้าวที่กระดูกด้านหลัง หากท่านใดที่เริ่มสงสัยว่าตนเองอาจจะมีอาการหมอนรองกระดูกเสื่อม ให้ลองดูอาการเบื้องต้น เช่น เริ่มมีอาการปวดต้นคอ ปวดหลัง ปวดขา ปวดร้าวจากต้นคอลงมาที่หลัง และอาจจะปวดเรื่อยไปจนถึงขา ซึ่งหากอาการปวดเริ่มมีการลุกลาม และชาในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการหนักอาจถึงขั้นขยับตัวไม่ได้ หรือ ถ้านอนหงายบนที่นอนก็จะรู้สึกเจ็บ ไม่สามารถนอนหงายได้ก็มี ควรรีบดูแล และ รักษาตนเองให้ดี เพราะยิ่งถ้าเป็นโรคหมอนรองกระดูกเสื่อม หรือ หมอนรองกระดูกเสื่อมทับเส้นประสาทแล้ว ในผู้ป่วยบางรายถึงกับต้องทำการผ่าตัด เพราะถ้าทิ้งเอาไว้ อาจจะกลายเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต ซึ่งอันตรายกับชีวิตทีเดียว

การรักษาอาการ หมอนรองกระดูกเสื่อม โดยเบื้องต้น มี 2 วิธีดังนี้

1.การรักษาอาการหมอนรองกระดูกในระยะแรกด้วยการออกกำลังกายควบคู่ไปกับการทานยาตามที่แพทย์สั่ง  แต่หากอาการไม่ดีขึ้น หรือ มีอาการเจ็บร้าวไม่หาย อาจจะมีการฉีดยาบริเวณช่องไขสันหลัง การจี้ด้วยคลื่นความถี่

2.การรักษาโดยวิธีการผ่าตัด แต่การผ่าตัดในปัจจุบันไม่ได้น่ากลัว หรือ ร้ายแรงอย่างที่คิด ด้วยเทคโนโลยี และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทำให้การผ่าตัดง่าย และพักฟื้นรักษาตัวไม่นานแผลที่เกิดจากการผ่าตัดหมอนรองกระดูกเสื่อม ก็ไม่ใหญ่ ทำให้การดูแลหลังการผ่าตัดนั้นง่าย อยู่โรงพยาบาลเพียงไม่กี่วันก็สามารถกลับไปดูแลตนเองที่บ้านได้ แต่กรณีที่ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดหมอนรองกระดูกเสื่อมแล้ว ใช่ว่าจะหายขาด ผู้ป่วยจำเป็นต้องดูแลตัวเองหลังจากได้รับการผ่าตัดอีกด้วย

  • การดูแลตัวเองหลังจากได้รับการรักษาอาการหมอนรองกระดูกเสื่อม

1.หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยการทานยาและการออกกำลังกายแล้ว ผู้ป่วยก็ควรออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตนในท่าเดิมๆ ที่มีความเสี่ยงต่อการทำให้อาการหมอนรองกระดูกเสื่อมกลับมาใหม่ ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด หรือ ในระยะไหน หากผู้ป่วยยังคงกลับไปใช้ชีวิตประจำวันแบบเดิมๆ นั่งทำงานผิดวิธี หรือ ประพฤติตัวเหมือนก่อนที่เคยรับการรักษาอาการหมอนรองกระดูกเสื่อม ไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเดิมๆ  อาการหมอนรองกระดูกเสื่อมก็จะกลับมาเป็นอีก

2.หลังจากการรักษาอาการหมอนรองกระดูกเสื่อมด้วยการผ่าตัด ควรจะใส่ support ไว้ประคองหลัง ไม่ให้เกิดการคดงอ หรือ เกิดการเคลื่อนของกระดูกสันหลังอีก ซึ่งควรใส่ไว้เป็นระยะเวลาประมาณ 1 เดือน จะช่วยกระชับหน้าท้อง และยึดโครงสร้างหลังไว้ด้วย ในระยะแรก ควรดูแลตัวเองให้ดี เพื่อป้องกันไม่ให้อาการกลับมาซ้ำใหม่ได้อีก ซึ่งนอกจากนั้นแพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยทำกายภาพบำบัดควบคู่ไปด้วยโดยแพทย์จะแนะนำวิธีกายภาพบำบัดหรืออาจจะให้ผู้ป่วยมาเรียนรู้และใช้อุปกรณ์ในการทำกายภาพบำบัดของทางโรงพยาบาลเพื่อให้สามารถทำกายภาพบำบัดที่บ้านได้อย่างถูกวิธี

      ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นหมอนรองกระดูกเสื่อม ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้หมอนรองกระดูกนั้นแห้งลงง่าย ขาดความยืดหยุ่น ก็ไม่ควรปล่อยให้มีน้ำหนักตัวมากเกินไป เพราะหลังหรือหมอนรองกระดูกต้องรองรับน้ำหนักที่มาก ทำให้เกิดอาการปวดหรือกดทับได้ และที่สำคัญคือ การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมให้เพียงพอในแต่ละวัน  ซึ่งได้แก่ ผักสีเขียวต่างๆ  นม  เมล็ดงา  ข้าวโอ๊ต ถั่วอัลมอนด์ เป็นต้น จะทำให้ช่วยยืดระยะเวลาการทำงานของกระดูกไม่ให้เสื่อมสภาพก่อนวัยอันควรอีกด้วย

 

Citibank_Citi-Cashback-_ซิตี้แคชแบ็ก-2020.jpg