การเลือกประเภทรถเข็นผู้ป่วย ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

142
รถเข็นผู้ป่วย

การเลือกประเภทรถเข็นผู้ป่วย

โดยปกติทั่วไปเรามักจะเห็น รถเข็นผู้ป่วย หรือที่เรียกกันว่า “วีลแชร์” ตามโรงพยาบาลและสถานที่ต่างๆ เป็นส่วนใหญ่ โดยมีรูปลักษณ์ไม่แตกต่างกันมากนัก กล่าวคือ เป็นรถเข็นที่มีล้อขนาดใหญ่ 2 ล้ออยู่ด้านข้าง และล้อขนาดเล็ก 2 ล้ออยู่ด้านหน้า แต่ในปัจจุบันยังมีประเภทรถเข็นผู้ป่วยอีกหลายแบบ ซึ่งผู้ใช้ควรพิจารณาก่อนเลือกซื้อเพื่อความเหมาะสมในการใช้งาน

ประเภทรถเข็นผู้ป่วยแบบไม่ใช้ไฟฟ้า

รถเข็นผู้ป่วย จำเป็นสำหรับผู้ป่วย ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ซึ่งอาจจะเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บหรืออุบัติเหตุต่างๆ โดยเราสามารถจำแนกรถเข็นผู้ป่วยแบบไม่ใช้ไฟฟ้าแยกย่อยได้อีก 2 ชนิด คือ

  1. รถเข็นผู้ป่วยแบบใช้มือหมุนด้วยตนเอง (Manually propelled wheelchair)

รถเข็นผู้ป่วยชนิดนี้สามารถขยับรถเข็นเคลื่อนที่เองได้ โดยใช้แขนทั้งสองข้างช่วยหมุนล้อให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้า และถ้าต้องการหยุดหรือชะลอก็ใช้แขนทั้งสองข้างจับล้อเพื่อหยุดความเร็วของรถเข็น ซึ่งรถเข็นผู้ป่วยชนิดนี้จะมีล้อหลังขนาดใหญ่ โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 20 – 24 นิ้ว เพื่อให้ผู้ใช้สามารถบังคับรถเข็นได้ง่ายขึ้น

  1. รถเข็นผู้ป่วยแบบมีผู้ดูแลช่วยเข็น (Transport wheelchair)

รถเข็นผู้ป่วยชนิดนี้จะต้องอาศัยผู้อื่นช่วยเข็นเท่านั้น โดยที่ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยจะไม่สามารถเข็นรถเองได้ โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8 – 14 นิ้ว มักนิยมใช้กันในโรงพยาบาลเพื่อเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ข้อดีสำหรับรถเข็นผู้ป่วยชนิดนี้คือมีน้ำหนักเบาและราคาถูก

ปัจจุบันรถเข็นผู้ป่วยประเภทนี้ยังมีทั้งแบบพับได้และพับไม่ได้ รวมถึงโครงสร้างของรถเข็นก็มีทั้งชนิดที่ทำจากเหล็กหรืออลูมิเนียม ซึ่งมีผลต่อน้ำหนักโดยรวมของรถเข็นที่จะทำให้ขนย้ายสะดวกหรือไม่ก็ตาม

รถเข็นผู้ป่วย

ประเภทรถเข็นผู้ป่วยแบบใช้ไฟฟ้า

รถเข็นผู้ป่วยแบบใช้ไฟฟ้าเป็นอีกประเภทหนึ่งที่เราพบเห็นมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะได้รับความนิยมอันเนื่องมาจากฟังก์ชั่นการใช้งานที่สะดวกสบายต่อผู้ใช้นั่นเอง โดยเราสามารถจำแนกรถเข็นผู้ป่วยแบบใช้ไฟฟ้าแยกย่อยได้อีก 2 ชนิด คือ

  1. รถเข็นผู้ป่วยไฟฟ้า

รถเข็นผู้ป่วย ชนิดนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตท่อนล่างหรือเดินไม่สะดวก แต่ยังพอสามารถช่วยเหลือตนเองได้พอสมควร แต่การใช้งานรถเข็นผู้ป่วยชนิดนี้ ถึงแม้ว่าจะช่วยลดภาระการพึ่งพิงผู้ดูแลได้ ทว่าก็ไม่สามารถให้ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยดูแลตนเองโดยลดการพึ่งพิงผู้ดูแลได้ทั้งหมด เพียงแค่ช่วยอำนวยความสะดวกให้เคลื่อนรถไปมาในระยะใกล้ๆ เท่านั้น

  1. รถเข็นสกูตเตอร์ไฟฟ้า

รถเข็นผู้ป่วยชนิดนี้จะมีลักษณะภายนอกไม่เหมือนรถเข็นผู้ป่วยที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด แต่ได้รับการออกแบบมาให้เหมือนรถนั่งขับที่มีรูปลักษณ์ปราดเปรียวสวยงาม อาจจะแลดูเหมือนรถที่ขับขี่เล่นเพื่อความเพลิดเพลิน แต่กลับได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงสำหรับผู้สูงอายุในประเทศที่พัฒนาแล้ว

ซึ่งไม่อยากใช้รถเข็นผู้ป่วยตามประเภทที่กล่าวมาแล้ว และยังสามารถใช้งานได้อเนกประสงค์อีกด้วย โดยสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ ไม่ว่าจะเป็นการไปร้านสะดวกซื้อหรือห้างสรรพสินค้าใกล้บ้าน การท่องเที่ยว หรือพบปะเพื่อนฝูง เป็นต้น

เราจะเห็นได้ว่าประเภท รถเข็นผู้ป่วย แต่ละประเภท ต่างก็มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป ทั้งในด้านของโครงสร้างรถเข็น น้ำหนัก การขนย้าย ฟังก์ชั่นการใช้งาน ราคา และความสะดวกสบาย นอกจากนี้ยังมีรถเข็นผู้ป่วยที่เหมาะสำหรับใช้งานภายในอาคารและภายนอกอาคารอีกด้วย

  1. รถเข็นผู้ป่วยใช้ภายในอาคาร มักจะเป็นรถเข็นที่มีล้อแบบยางตัน ซึ่งไม่ต้องรองรับแรงกระแทกมากนัก พบได้มากในการใช้งานในโรงพยาบาล
  2. รถเข็นผู้ป่วยใช้ภายนอกอาคาร มักจะเป็นรถเข็นที่มีล้อแบบสูบลมที่ต้องรองรับแรงกระแทกบนพื้นผิวขรุขระ มีความคงทนสูง

            ดังนั้นก่อนที่จะเลือกซื้อ “รถเข็นผู้ป่วย” มาใช้งาน ควรพิจารณาถึงจุดประสงค์และการใช้งานเป็นสำคัญ จึงจะเลือกประเภทรถเข็นผู้ป่วยตอบสนองความต้องการได้ดีที่สุดค่ะ

Citibank_Citi-Cashback-_ซิตี้แคชแบ็ก-2020.jpg