โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาการปวดที่ไม่ควรมองข้าม

895
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ให้เรื้อรัง

           เมื่อมีอาการปวดหลังสิ่งแรกที่ทุกคนนึกถึงนั้นมักจะเป็นการกินยาแก้ปวดรวมถึงใช้ยาทาและนวดเพื่อบรรเทา หลังจากนั้นหากยังมีอาการไม่ดีขึ้นมักจะพึ่งพาหมอนวดแผนโบราณ ซึ่งถ้าหากเป็นอาการที่เกิดจากความปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อธรรมดาก็มักจะหายดีภายในระยะเวลาไม่นานหรือไม่กี่สัปดาห์ แต่ถ้าหากอาการปวดเหล่านั้นมีความเรื้อรังและปวดอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานหลายเดือนหรือเป็นปีกินยาแล้วก็ไม่ทุเลา คุณอาจมีอาการของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท  หรือเรียกง่ายๆว่าโรคกระดูกทับเส้น

           โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือกระดูกทับเส้นนี้  มีสาเหตุมาจากหลายประการ โดยทั่วไปแล้วสาเหตุของอาการกระดูกทับเส้นนั้นคือการนั่งทำงานและ/หรือการขับรถเป็นเวลานานๆ การเกิดอุบัติเหตุ การหกล้ม การยกของหนักที่เกินกำลัง  รวมไปถึงการเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูกตามวัยที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งจะแน่ใจได้อย่างไรว่าคุณมีภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท  เรื่องนี้ไม่ยากเนื่องจากมีความแตกต่างระหว่างโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทกับโรคปวดหลังจากกล้ามเนื้ออย่างหนึ่งดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้นคือ อาการเจ็บปวดเรื้อรังโดยที่อาการจากกล้ามเนื้ออักเสบจะสามารถหายเองภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ ที่สำคัญคือจะหายแล้วหายเลยไม่มีการกลับมาเจ็บที่เดิมบ่อยๆ ในขณะที่อาการปวดหลังจากโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทจะมีอาการเจ็บเป็นระยะๆและลุกลามมากยิ่งขึ้นสะสมความเจ็บเพิ่มขึ้นตามระยะเวลา โดยกว่าที่ผู้ป่วยจะรู้ตัวว่าเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทก็จะมีอาการเจ็บปวดเรื้อรังดังกล่าวมาเป็นปีแล้ว และจะมาหาหมอเมื่อมีอาการเจ็บจนทนไม่ไหวในที่สุด ซึ่งอาการของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทนี้จะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ในผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการเจ็บปวดตลอดเวลาจนแทบทนไม่ไหว ดังนั้นหากคุณพบว่ามีอาการเจ็บปวดที่บริเวณหลังนานกว่า1-2 เดือน  ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท  และให้รีบมาพบแพทย์ก่อนที่อาการทรุดลง

แนวทางการรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

1.การรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทด้วยการกินยา

การรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทนั้น ถ้าหากเป็นในระยะต้นๆคือ มีอาการของโรคไม่มาก  หมอจะเลือกวิธีจ่ายยาให้คนไข้ไปกินเอง เนื่องจากเป็นการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าการรักษาแบบอื่นๆ เหมาะกับผู้ป่วยระยะแรก เห็นผลการรักษาได้เร็ว และคนไข้ไม่จำเป็นต้องเดินทางมาหาหมอบ่อยนัก ส่วนใหญ่คนไข้ที่กินยาจะมีอาการที่ดีขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการประพฤติปฏิบัติตัวของคนไข้ด้วยว่ายังคงทำกิจวัตรประจำวันแบบเดิม  เพื่อให้อาการของโรคกลับมาหรือไม่ และถ้าหากกินยาแล้วไม่หายหรือไม่ดีขึ้น ส่วนใหญ่หมอก็จะให้คนไข้รับการรักษาในขั้นถัดไปเช่น การประคบร้อนสลับเย็น การฉีดยา กายภาพบำบัดโดยนักายภาพบำบัด การรักษาด้วยคลื่นอัลตราซาวน์  การยืดกระดูกด้วยเครื่องยืดกระดูก  เป็นต้น

2.การรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทด้วยวิธีการอื่นๆ

เป็นการยืดกระดูกด้วยหลักการเดียวกับการทำกายภาพบำบัดโรคกระดูกทับเส้นที่โรงพยาบาล โดยการใช้เครื่องจับยึดร่ายกายไว้ด้วยสายรัดแล้วเดินเครื่องโดยให้สายดึงผูกติดกับเครื่องยืดกระดูกแล้วเครื่องจะทำการดึงและหยุดค้างเพื่อทำการดึงกระดูกสลับกับการผ่อนออกของน้ำหนักที่ดึง  โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 15 นาที  โดยแรงดึงรวมถึงน้ำหนักที่ใช้ดึงจะขึ้นอยู่กับอาการของโรคว่ามีการคดงอของกระดูกรวมถึงมีการกดทับของกระดูกต่อเส้นประสาทมากน้อยเพียงไรตามการวินิจฉัยของแพทย์และต้องทำโดยนักกายภาพบำบัดที่โรงพยาบาล  ซึ่งผู้ป่วยเองอาจจะต้องเสียเวลาเดินทางมาโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาในลักษณะนี้วันเว้นวัน หรืออย่างน้อยสัปดาห์ละสองวันมิฉะนั้นก็จะไม่เห็นผลในการรักษา  ซึ่งต้องทำการรักษาต่อเนื่องเป็นครอส  ครอสละ 10 ครั้ง  แล้วจึงพบหมอเพื่อดูอาการต่อไป

         จะเห็นได้ว่าแนวทางการรักษา”โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” มีแนวทางหลักใหญ่อยู่2แนวทาง  คือ  การกินยา  การรักษาด้วยการกายภาพบำบัด  รวมถึงการรักษาด้วยวิธีอื่นๆด้วย  ซึ่งตอนนี้ผู้ป่วยเองก็มีทางเลือกในการรักษาที่หลากหลาย โดยสามารถให้นักกายภาพบำบัด มาทำกายภาพบำบัดให้ได้ที่บ้าน  หรือถ้าต้องทำการยืดกระดูกก็สามารถซื้อเครื่องยืดกระดูก  หรือเตียงสำหรับยืดกระดูกมาใช้ได้เองที่บ้านและสามารถทำได้ด้วยตนเองด้วย  เพียงแต่ต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญและอย่าลืมต้องทำตามคำแนะนำในการปฏบัติตัวตามหมอสั่งด้วยเพื่อประสิทธิภาพในการรักษาที่สูงสุด

Citibank_Citi-Cashback-_ซิตี้แคชแบ็ก-2020.jpg