สาเหตุ และวิธีการรักษา โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

68

สาเหตุการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท 

อย่างที่ทราบกันแล้วว่า โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทนี้  เมื่อพบว่าตนเองมีอาการที่สงสัยว่าจะเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาโดยทันที อย่าปล่อยทิ้งไว้นานหรือรักษาด้วยตนเองเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท มีสาเหตุมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน ได้แก่

1.การที่ยกของหนักด้วยท่าทางที่ไม่ถูกต้องบ่อยๆ  การยกของที่หนักเกินไปเป็นระยะเวลานาน

2.การมีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป

3.การนั่งทำงานด้วยท่าทางและอิริยาบถที่ไม่ถูกต้องเป็นระยะเวลานานๆ โดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ

4.เกิดจากอุบัติเหตุและการบาดเจ็บที่มีผลกระทบต่อกระดูกสันหลัง และการถูกกระแทกอย่างรุนแรงที่กระดูกสันหลัง

5.การสูบบุหรี่ก็มีผลต่อการทำให้เป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทด้วยเช่นกัน เพราะออกซิเจนที่ไปเลี้ยงหมอนรองกระดูกมีปริมาณลดลงจึงทำให้กระดูกเกิดการเสื่อมได้เร็วขึ้นนั่นเอง

สำหรับวิธีการรักษาโดยการไม่ผ่าตัดนั้น แพทย์จะให้รับประทานยาแก้อักเสบหรือยาคลายกล้ามเนื้อเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดและการอักเสบที่เกิดขึ้นรอบๆ เส้นประสาทหรือหมอนรองกระดูกสันหลัง และจะทำควบคู่ไปกับการทำกายภาพบำบัด หรือแพทย์อาจจะใช้วิธีฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาทหรือรอบๆ เส้นประสาท เพื่อลดอาการอักเสบและอาการปวด ซึ่งพบว่าจะลดอาการปวดได้ดี

หากพบว่าอาการยังไม่ดีขึ้นภายในระยะเวลา 3 เดือน จากการรักษาโดยเบื้องต้นแล้ว มีอาการชาหรืออ่อนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะอาการชาบริเวณรอบก้น และไม่สามารถกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระได้ แพทย์จะพิจารณาให้ทำการผ่าตัดอย่างเร่งด่วนโดยทันที

วิธีการรักษาโดยการผ่าตัดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ก็มี 2 วิธี ดังนี้

1.การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทโดยใช้กล้องขยายขนาดเล็ก (Microdiscectomy) ก็คือ วิธีการผ่าตัดนำเอาเนื้อเยื่อหมอนรองกระดูกสันหลังที่มีปัญหากดทับกระดูกสันหลังและเส้นประสาทออกมา โดยแผลจากการผ่าตัดจะมีขนาดเล็กมากประมาณ 2 นิ้ว

2.การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope ( Endodiscectomy) จะเป็นการสอดกล้องเอ็นโดสโคปผ่านทางแผลผ่าตัดขนาด 7.9 มิลลิเมตร โดยเลนส์ของเอ็นโดสโคปจะอยู่ที่ปลายกล้องซึ่งทำหน้าที่เสมือนเป็นดวงตาให้กับศัลยแพทย์ที่ทำการผ่าตัด ทำให้สามารถมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้น และเลือกตัดเฉพาะชิ้นส่วนเนื้อเยื่อที่มีปัญหาได้อย่างแม่นยำและชัดเจน

ซึ่งต่างจากการผ่าตัดโดยใช้กล้องขยายขนาดเล็ก (Microdiscectomy) ที่จะต้องตัดลัดเลาะเนื้อเยื่อส่วนที่ดีเพื่อเปิดทางเข้าไปตัดหมอนรองกระดูกส่วนที่มีปัญหากดทับเส้นประสาทออก และแผลผ่าตัดมีขนาดใหญ่กว่าการใช้กล้องเอ็นโดสโคปซึ่งมีแผลผ่าตัดเพียง 7.9 มิลลิเมตรเท่านั้น และสามารถฟื้นตัวหลังการผ่าตัดได้เร็วกว่า ทำให้ค่าใช้จ่ายน้อยกว่า

ข้อควรปฏิบัติหลังจากที่เข้ารับการผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลัง

จะเห็นได้ว่าโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นอีกไม่ได้หากยังไม่รู้จักป้องกันตนเอง โดยการปรับเปลี่ยนการนั่ง ยืน เดิน นอน ให้อยู่ในท่าทางที่ถูกต้อง ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้จะส่งผลให้กลับมาเป็นโรคนี้ได้อีก ควรปฏิบัติตามแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัดตลอดระยะเวลา 3 เดือน เพื่อไม่ให้เกิดการเป็นโรคนี้ซ้ำขึ้นมาอีก ควรปฏิบัติดังนี้

1.ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมต่างๆ ที่จะทำให้เกิดโรคนี้ ทั้งการยืน เดิน นั่ง หรือนอน เป็นเวลานานๆ ในอิริยาบถที่ไม่ปรับเปลี่ยนเลย จึงควรที่จะปรับเปลี่ยนอิริยาบถเสมอๆ อย่าอยู่ในท่าใดนานเกินไป หรือการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การเล่นกีฬา การออกกำลังกายที่หักโหมจนเกินพอดี หรือแม้กระทั่งการยกของหนักเกินไป ก็ควรทำแต่พอดี

2.การแบกของหนักในท่าทางที่ไม่ถูกต้องก็ควรแบกในท่าทางที่ทำให้สันหลังไม่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ การมีน้ำหนักร่างกายที่มากเกินไปก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เป็นโรคนี้ได้ เพราะฉะนั้นจึงควรควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสมพอดีกับสรีระของตนเองอยู่เสมอ ตลอดจนการงดสูบบุหรี่ซึ่งก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้เช่นเดียวกันตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้นแล้ว

ท่าบริหารกล้ามเนื้อหลังและท้อง ป้องกันโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท มี 3 ท่า ดังต่อไปนี้

ท่าบริหารที่ 1  โดยการนอนหงาย ยกขาซ้ายขึ้นให้สูงจากพื้นประมาณ 1 คืบ โดยให้เข่าเหยียดตรง แล้วกระดกปลายเท้าเข้าหาตัว ทำค้างไว้ 5 วินาที วางขาลงแล้วยกขาขวาขึ้นทำสลับกันเช่นเดียวกัน

ท่าบริหารที่ 2  โดยการนอนหงาย แล้วยกเข่าซ้ายขึ้น ใช้มือทั้งสองกอดเข่าไว้ โน้มเข่าลงมาให้ชิดลำตัวมากที่สุดที่จะทำได้ ทำค้างไว้ 5 วินาที แล้ววางขาซ้ายลง ทำสลับกับเข่าขวาเช่นเดียวกัน

ท่าบริหารที่ 3  โดยการนอนหงาย ชันเข่าขึ้นทั้งสองข้าง ประสานมือสองข้างไว้ด้านหลังบริเวณเอว แล้ว แขม่วท้อง โดยกดหลังลงค้างไว้ 5 วินาที

          เมื่อบริหารร่างกายตามที่กล่าวมานี้เป็นประจำก็จะช่วยให้ห่างไกลจากโรคนี้ได้ ที่สำคัญการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมจากการใช้ชีวิตประจำวันต่างๆ ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะช่วยให้ไม่ต้องเป็นโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทนี้ด้วยเช่นเดียวกัน

Citibank_Citi-Cashback-_ซิตี้แคชแบ็ก-2020.jpg