เคล็ดลับการเลือกรถเข็นผู้ป่วย เลือกอย่างไรให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัย

15
รถเข็นผู้ป่วย

ปัจจัยสำคัญและข้อควรพิจารณาวิธีเลือกรถเข็นผู้ป่วย

ในการเดินทางของผู้สูงอายุหรือผู้ป่วย อาจจะเรียกได้ว่า “รถเข็นผู้ป่วย” เป็นพาหนะคู่ใจกันเลยทีเดียว เนื่องจากเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยให้เดินทางหรือทำกิจกรรมร่วมกับคนในครอบครัวได้สะดวกสบายยิ่งขึ้น ดังนั้นวิธีเลือกรถเข็นผู้ป่วยให้เหมาะสมกับผู้ใช้จึงนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง

ปัจจัยสำคัญสำหรับวิธีเลือกรถเข็นผู้ป่วย

การเลือกรถเข็นผู้ป่วยมี 3 ปัจจัยที่เราจะต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้ตอบโจทย์กับการใช้งานที่จะส่งผลดีต่อผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยนั่นเอง

  1. ความปลอดภัย (Safety) เป็นปัจจัยแรกๆ ที่ควรให้ความสำคัญมากที่สุด โดยความสูงของพนักพิงควรมีความเหมาะสม เพราะถ้าพนักพิงสูงเกินไปจะเป็นอุปสรรคต่อการเข็นรถด้วยตนเอง ในกรณีที่ไม่ใช่รถเข็นผู้ป่วยชนิดไฟฟ้า ส่วนพนักพิงที่ไม่สูงมากจะเหมาะสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่มีการทรงตัวดีและต้องการความคล่องตัวในการเข็นรถด้วยตนเอง
  2. การรองรับสรีระร่างกาย (Support) พื้นที่ภายในรถเข็นผู้ป่วยหรือส่วนที่เป็นที่นั่งจะต้องมีความลึกเหมาะสม ไม่เทอะทะ เมื่อนั่งแล้วข้อเข่าและข้อสะโพกควรงอประมาณ 90 องศา และมีช่องว่างระหว่างข้อพับเข่าของผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยกับขอบที่นั่งประมาณ 3 – 5 ซม. สามารถทดสอบได้ด้วยการสอดนิ้วชี้และนิ้วกลางเข้าใต้ข้อพับเข่า เนื่องจากถ้าที่รองนั่งนั้นลึกเกินไป อาจทำให้เกิดการเสียดสีกลายเป็นแผลที่บริเวณใต้เข่าได้ หรือผู้สูงอายุเลื่อนตัวมาข้างหน้าจะทำให้ตัวไหลลงมาจนหล่นจากรถเข็นผู้ป่วยได้
  3. ความสบายตัว (Comfort) วิธีเลือก รถเข็นผู้ป่วย ที่ควรคำนึงไม่แพ้กันก็คือความสบายตัวนั่นเอง เพราะผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยจะต้องใช้เวลาส่วนใหญ่บนรถเข็นผู้ป่วยเกือบทั้งวัน ดังนั้นตำแหน่งที่วางเท้าจะต้องเหมาะสมเพื่อความสบายตัว ข้อเข่าและข้อเท้าควรงอประมาณ 90 องศา ไม่เหยียดหรืองอมากเกินไป เข่าไม่ตั้งชันขึ้นมา สามารถทดสอบได้ด้วยการสอดปลายนิ้วที่บริเวณใต้ส่วนปลายของต้นขา โดยต้นขาของผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยจะต้องวางราบบนที่รองนั่ง เพราะถ้าที่วางเท้าอยู่สูงเกินไปจะทำให้เพิ่มแรงกดทับที่ก้นของผู้นั่ง ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับและทำให้มีอาการปวดหลังได้

ข้อควรพิจารณากับวิธีเลือกรถเข็นผู้ป่วย

ส่วนใหญ่รถเข็นผู้ป่วยดีๆ มักจะมีราคาค่อนข้างสูงพอสมควร เมื่อซื้อมาแล้วอาจจะมีขนาดใหญ่หรือเล็กเกินไป ก็จะกลายเป็นเหตุทำให้ต้องเสียเงินซื้อใหม่อีก เราจึงมีคำแนะนำสำหรับวิธีเลือกรถเข็นผู้ป่วยให้เหมาะสมที่สุด ดังนี้

  1. วัสดุที่นำมาทำโครงสร้าง “รถเข็นผู้ป่วย” ที่มีโครงสร้างเป็นเหล็กจะมีความแข็งแรง ทนทานต่อแรงกระแทกได้มาก แต่มีข้อเสียตรงที่มีน้ำหนักมาก เป็นสนิมและผุกร่อนง่าย ทั้งนี้ควรพิจารณาถึงความหนาของเนื้อเหล็กรวมถึงรอยเชื่อมต่อของเหล็กว่ามีคุณภาพหรือไม่ ส่วนรถเข็นผู้ป่วยที่ผลิตจากสแตนเลสจะมีความแตกต่างกับเหล็กตรงที่ไม่เป็นสนิมเท่านั้นเอง และรถเข็นผู้ป่วยแบบอลูมิเนียมจะมีน้ำหนักเบาและความทนทานน้อยกว่าสองแบบแรก สามารถขนย้ายได้สะดวกจึงเหมาะกับการใช้นอกสถานที่
  2. จุดประสงค์การใช้งาน รถเข็นผู้ป่วยแต่ละแบบก็มีวิธีการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป อย่างเช่นรถเข็นผู้ป่วยที่มีโครงสร้างเป็นสแตนเลสจะเหมาะกับการใช้งานภายในอาคาร หรือรถเข็นผู้ป่วยที่มีโครงสร้างเป็นอลูมิเนียมจะเหมาะกับการใช้ท่องเที่ยวหรือเดินทางนอกบ้าน แม้แต่วัสดุที่ทำเบาะรองนั่งก็เช่นกัน เบาะนั่งที่ทำจากวัสดุประเภท PVC หรือหนังเทียมจะเช็ดทำความสะอาดง่ายและสามารถใช้นั่งอาบน้ำได้ แต่มีข้อเสียตรงที่ไม่ระบายอากาศ จึงทำให้รู้สึกอับร้อนไม่สบายตัว

ทั้งหมดนี้ก็คือปัจจัยและข้อควรพิจารณาสำหรับวิธีเลือกซื้อ รถเข็นผู้ป่วย เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยสามารถใช้รถเข็นผู้ป่วยด้วยความรู้สึกสะดวกสบายที่สุด และยังเป็นผลดีต่อสุขภาพอีกด้วยค่ะ

Citibank_Citi-Cashback-_ซิตี้แคชแบ็ก-2020.jpg