ประโยชน์ของวอล์คเกอร์ช่วยเดิน สำหรับผู้ป่วยและผู้สูงอายุ

186
วอล์คเกอร์ช่วยเดิน

ประโยชน์ของวอล์คเกอร์ช่วยเดิน 

วอล์คเกอร์ช่วยเดิน (Walker) เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ช่วยเดินแบบ 4 ขา ที่เรียกได้ว่า มีความมั่นคงมากที่สุด เพราะการออกแบบให้มีฐานการรองรับน้ำหนักที่กว้าง  ตัวอุปกรณ์น้ำหนักเบาและใช้ฝึกเดินได้ง่าย จึง เหมาะกับผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีปัญหาการทรงตัวไม่ดี  อย่างไรก็ตาม วอล์คเกอร์ ก็มีข้อเสีย คือ มีขนาดใหญ่เทอะทะ ทำให้เดินได้ช้า ไม่ช่วยให้การเดินเป็นไปอย่างปกติตามธรรมชาติ  เนื่องจากแขนไม่ได้มีการแกว่ง รวมถึงข้อเสียในเรื่องการใช้เดินขึ้นลงบันไดและพื้นต่างระดับที่ทำได้ค่อนข้างลำบาก

วอล์คเกอร์ช่วยเดินประเภทต่างๆ และวิธีใช้เบื้องต้น

  • เครื่องช่วยเดินแบบไม่มีล้อ (Standard walker) ลักษณะเป็นเครื่องช่วยเดินแบบ 4 ขา ส่วนใหญ่ทำจากอลูมิเนียม มีน้ำหนักเบา มีส่วนที่เป็นที่จับเพื่อความกระชับมือ และสามารถปรับความสูงได้ตามความเหมาะสมของผู้ใช้ ซึ่งการวัดความสูงของวอล์คเกอร์ สามารถทำได้โดย ให้เท้าของผู้ใช้ อยู่ระดับเดียวกับขาหลังของวอล์คเกอร์ ส่วนมือจับของวอล์คเกอร์ช่วยเดิน ควรมีความสูงอยู่ในระดับเดียวกับปุ่มกระดูกข้างสะโพก( greater trochanter) หรือเมื่อลองจับที่มือจับแล้ว บริเวณข้อศอกควรงอประมาณ 15-30 องศา วอล์คเกอร์ประเภทนี้ เหมาะกับผู้สูงอายุ ที่อาจจะมีปัญหาการเดินหรือการทรงตัวเล็กน้อย แต่ยังพอช่วยเหลือตัวเองได้
  • วอล์คเกอร์ช่วยเดิน แบบมีล้อ (Wheeled walker) ลักษณะคล้ายวอล์คเกอร์แบบไม่มีล้อ ปรับความสูงได้หลายระดับ แต่ต่างกันตรงที่มีล้อเลื่อนเพิ่มเข้ามา และมีแยกย่อยอีก 2 รูปแบบ คือ วอล์คเกอร์ช่วยเดิน ที่ใช้กับด้านหน้าของร่างกาย (Anterior wheeled walker) และ แบบที่ใช้กับด้านหลังของร่างกาย (Posterior wheeled walker) ส่วนใหญ่ทำจากอลูมิเนียม

ซึ่งการที่มีล้อ ก็ช่วยให้การใช้งานสะดวกสำหรับผู้ป่วยและผู้สูงอายุ ที่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ส่งผลให้แขนทั้ง 2 ข้างไม่สามารถยกวอล์คเกอร์แบบทั่วไป ได้ รวมถึงผู้ที่มีอาการแขนทำงานไม่สัมพันธ์กัน และผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน เป็นต้น สามารถเลือกได้ว่าจะใช้ล้อแค่ 2 ล้อ หรือ 4 ล้อ แล้วก็ยังถอดล้อได้อีกด้วย

วอล์คเกอร์ช่วยเดิน

นอกจาก วอล์คเกอร์ช่วยเดิน แต่ละประเภทจะถูกออกแบบมาเพื่อช่วยในการยืน เดิน และพยุงตัวแล้ว ปัจจุบัน ผู้ผลิตวอล์คเกอร์ ก็ได้ออกแบบให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลายสำหรับผู้สูงอายุมากขึ้น เช่น เป็นอุปกรณ์ช่วยพยุงให้ลุกนั่งจากชักโครก จากเตียง หรือรถเข็น ที่สามารถรองรับน้ำหนักได้มากกว่า 100 กิโลกรัม

  • การเดินด้วยวอล์คเกอร์ ก็มีบางส่วนที่ใช้งานคล้ายเครื่องช่วยเดินประเภทอื่น แต่ก็มีรายละเอียดบางอย่างที่แตกต่างกัน ก่อนที่จะให้ผู้สูงอายุฝึกเดิน จะต้องเน้นข้อควรระวังต่อไปนี้ ให้ปฏิบัติตาม นั่นคือ เวลายกและวางวอล์คเกอร์บนพื้น จะต้องให้ทั้ง 4 ขา ถึงพื้นพร้อมกันเพื่อให้เกิดความมั่นคง ไม่เซ หรือล้อง่ายๆ ผู้สูงอายุเองต้องไม่ยืนใกล้กับขาหน้าของวอล์กเกอร์มากเกินไป เพราะอาจทำให้เสียหลักได้ง่าย
  • ขั้นตอนการเดินที่เหมาะสม ให้ยกวอล์คเกอร์ไปด้านหน้า ห่างประมาณ 1 ช่วงแขน จากนั้น ยกขาข้างที่มีปัญหาก้าวไปจนถึงระดับขาหลังหรือไม่เกินกึ่งกลางความลึกของวอล์คเกอร์ แล้วก็ก้าวข้าข้างที่เป็นปกติตามไปถึงในระดับเดียวกัน พร้อมทั้งยันน้ำหนักลงบนแขนทั้งสองข้างอย่างระมัดระวัง

          สรุป วอล์คเกอร์ช่วยเดิน ก็เป็นอุปกรณ์ช่วยเดินอีกชนิดหนึ่ง ที่มีจุดประสงค์ในการใช้งานคือ ช่วยในการเดินและทรงตัว ด้วยรูปร่าง การออกแบบ กับลักษณะเฉพาะในการใช้งานที่มีข้อจำกัด จะเห็นได้ว่า วอล์คเกอร์ทุกประเภท น่าจะเหมาะกับการใช้งานในผู้สูงอายุมากที่สุด  โดยเฉพาะการใช้งานในบริเวณบ้าน ที่เป็นพื้นที่ราบ ส่วนการใช้งานในผู้ป่วยนั้น ก็อาจจะเหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงและผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน อย่างเหมาะสมนั้น ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นประโยชน์มากที่สุด

 

Citibank_Citi-Cashback-_ซิตี้แคชแบ็ก-2020.jpg