การใช้ไม้ค้ำยันช่วยเดิน เลือกอย่างไรให้เหมาะสมและปลอดภัย

203
ไม้ค้ำช่วยเดิน

การใช้ ไม้ค้ำยันช่วยเดิน

ไม้ค้ำยันช่วยเดิน (crutches) คืออุปกรณ์ช่วยในการเดินที่รับน้ำหนักของร่างกายได้ประมาณ 70 %  เป็นอุปกรณ์ที่ต้องถือด้วยมือทั้ง 2 ข้าง ดังนั้นผู้ใช้ไม้ค้ำยันต้องใช้พลังงานในการเดินเป็นอย่างมาก จึงเหมาะกับผู้ใช้หรือผู้ป่วยที่อายุค่อนข้างน้อย มีกำลังแขนที่ดีทั้ง 2 ข้าง อาจจะใช้ในช่วงระยะสั้นๆ ระหว่างบาดเจ็บ เช่น กระดูกขาหัก ข้อเท้าแพลง หรือการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ  เหล่านี้เป็นต้น ส่วนใหญ่ ที่ได้รับความนิยมในการเลือกใช้ มี 2 ประเภทได้แก่  ไม้ค้ำยันรักแร้ (Axillary crutches) และ ไม้ค้ำยันท่อนแขน (Forearm crutches)

การวัดขนาด ไม้ค้ำยันช่วยเดิน ให้เหมาะสมกับผู้ใช้มากที่สุด

เริ่มกันที่ ความยาวของไม้ค้ำยันช่วยเดิน  ให้วัดขนาดด้วยการให้ผู้ใช้ยืนตรง  กางแขนตรงในแนวราบระดับไหล่  ให้ส่วนพักรักแร้อยู่ต่ำกว่ารักแร้ประมาณ 2-3 เซนติเมตร

ในส่วนของระดับของส่วนที่ใช้มือจับ เมื่อได้ขนาดความยาวของ ไม้ค้ำยันช่วยเดิน แล้ว  ให้ใช้มือจับส่วนใช้มือจับและทดลอง ถือไม้ค้ำยันใต้รักแร้ให้ตั้งตรง  ในขณะแขนงอ  โดยให้ศอกทำมุมที่ 2-30 องศา

หลักในการใช้ไม้ค้ำยันที่ถูกต้อง

  • เมื่อใช้ไม้ค้ำยันในการเดิน ควรเลือกใส่รองเท้าคู่ที่มีความพอดี และเช็คที่ปลายไม้ค้ำยันว่ามียางสวมกันลื่นเรียบร้อยดีหรือไม่
  • เวลายืน ให้ยืนด้วยขาข้างที่ไม่บาดเจ็บ และทรงตัวให้ดี ยืนตัวตรง ตามองตรงไปข้างหน้า
  • ควรวางไม้ค้ำยันช่วยเดินให้ห่างจากนิ้วเท้าไปด้านหน้าประมาณ 6-8 นิ้ว ไหล่และหลังต้องตรง  ไม่โค้งงอไปตามไม้ค้ำยัน
  • เวลาเดิน ให้ลงน้ำหนักที่มือ ไม่ลงน้ำหนักที่รักแร้ เพราะจะทำให้เป็นอันตรายต่อเส้นประสาทบริเวณรักแร้
  • เดินโดยใช้ไม้ค้ำยันช่วยเดิน 1 คู่ และขารับน้ำหนัก 4 จุด (Four point gait)ท่าเดินแบบนี้  เป็นท่าที่เน้นความ ปลอดภัย  เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่สามารถลงน้ำหนักบนขาได้บ้างทั้ง 2  ข้าง
  • เมื่อใช้งานเป็นระยะเวลานานๆ ควรสำรวจ ไม้ค้ำยันช่วยเดิน ให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ

ไม้ค้ำช่วยเดิน

ประโยชน์ของไม้ค้ำยันช่วยเดิน

  • เป็นอุปกรณ์ช่วยเพิ่มความมั่นคงในการทรงตัวขณะเดิน สำหรับผู้มีปัญหาเรื่องการเดิน และช่วยเพิ่มความมั่นคงในการเคลื่อนไหวควบคู่กันไปด้วย
  • เป็นการช่วยกระจายการลงน้ำหนัก และการรับน้ำหนักของขาทั้งสองข้างขณะเดิน ซึ่งส่งผลให้ สามารถช่วยชดเชยต่อการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อได้
  • ไม้ค้ำยันช่วยเดิน ถูกออกแบบมา เพื่อให้ผู้มีปัญหาด้านการเดิน ได้ฝึกเดิน เคลื่อนไหว ใช้กล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอและยังเป็นการสร้างความมั่นใจ ในการช่วยเหลือตัวเองเป็นอย่างดี
  • นอกจากจะใช้เดินและทรงตัวบนพื้นราบได้แล้ว “ไม้ค้ำยันช่วยเดิน” ยังสามารถช่วยในการเดินขึ้นลงบันไดหรือพื้นต่างระดับได้ด้วย ซึ่งถือว่ามีประโยชน์ต่อการช่วยเหลือตัวเองของผู้ใช้ได้ดีมาก

ข้อควรระวังและสิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับการใช้ไม้ค้ำยันช่วยเดิน

ในการเลือกใช้ ไม้ค้ำยันช่วยเดิน สำหรับผู้ป่วยหรือผู้ที่ต้องการฟื้นฟูอาการบาดเจ็บ สิ่งสำคัญคือต้องได้รับคำแนะนำและการตรวจประเมินจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้มีความปลอดภัยและเกิดประโยชน์สูงสุด  โดยมีสิ่งที่ควรพิจารณา เช่น ความต้องการของผู้ใช้ว่ามีความจำเป็นต้องใช้แขนข้างเดียวหรือทั้งสองข้างในการช่วยพยุงการทรงตัว การเดิน หรือช่วยในการลงน้ำหนัก

เพราะหากผู้ใช้ต้องการใช้แขนทั้งสองข้างในการช่วยพยุงการทรงตัวและลงน้ำหนัก ก็ควรเลือกใช้ ไม้ค้ำยันช่วยเดิน ที่เหมาะสมกับลักษณะอาการของผู้ใช้มากที่สุด

การเลือกอุปกรณ์ช่วยเดิน ไม้ค้ำช่วยเดิน ให้เหมาะสมกับผู้ใช้แต่ละคน ต้องไม่ลืมที่จะคำนึงถึงลักษณะความผิดปกติ ระดับการรับรู้ สมรรถภาพทางกาย สภาวะแวดล้อม ความสามารถในการตัดสินใจ การมองเห็น และความแข็งแรงของร่างกายส่วนบน เพราะทั้งหมดนี้ล้วนมีผลต่อการสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ

Citibank_Citi-Cashback-_ซิตี้แคชแบ็ก-2020.jpg